ยินดีตอนรับสู่ กศน.แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
"รอยยิ้มแห่งความสำเร็จ"

พบกลุ่มครั้งที่ 3 24-05-15

สวัสดีครับเพื่อนเรามาพบกันอีกครั้งคราวนี้ ทาง กศนก็นำภาพบรรยากาศมาฝาก
มีแต่รูปคนหล่อ คนสวย เด็กๆ คุณคูร น่ารัก ของห้องเรียนแสนสุข
วันนี้ก็เช่นเคย คุณคูรต้องมาก่อน มากันแต่เช้าเลย 8.30 น นักศึกษา และ คุณคูรพากันนั้งรอ
ทีมงาน  หลังจาก 8.45น นักศึกษาใหม่เก่ามากันมามาย และแล้วก็รียนกัน
คุณคูรให้นักศึกษาออกมา present งาน My Map ของอาทิตย์ที่แล้ว ประมาณว่า อ้าย อาย
หลังจาก present  My Map งานก็เข้่าครับ
คุณคูรก็จ่ายงานให้ในแต่ละกลุ่ม ศึกษากรณีตัวอย่างผู้ที่สำเร็จ ในการทำอาชีพ แล้วสรุปดังนี้
๑.ช่องทางการเข้าสู อาชีพ
๒.ช่องทางการพัฒนาอาชีพ
๓.ช่องทางการขยายอาชีพ
My Map ตัวอย่างผู้ที่สำเร็จ มี่สามท่านดังนี้


ชายสี่บะหมี่เกี๊ยว 

 



“พันธ์รบ กำลา” เจ้าตำรับ "ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว" จากลูกอีสาน สู่เถ้าแก่ร้อยล้าน
ย้อนหลังกลับไปเมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว ณ จังหวัดร้อยเอ็ด “พันธ์รบ กำลา” กำเนิดในครอบครัวชาวนายากจน โดยเป็นพี่ชายคนโต มีน้องชายอีก 3 คน และน้องสาว 1 คน เขาเล่าย้อนเส้นทางชีวิตให้ฟังว่า ...
“ผมเป็นเหมือนลูกชาวนาจนๆ ทั่วไป ได้เรียนแค่ชั้น ป.4 หลังจากนั้น ต้องออกมาใช้ชีวิตเหมือนชาวนาทั่วไป ทำไร่ทำนาไปวันๆ จนกระทั่งอายุ 14 ปี ได้เข้าทำงานในกรุงเทพฯ ได้งานเป็นคนสวนในบ้านนายจ้าง ย่านปากเกร็ด นนทบุรี ค่าจ้างเดือนละ 300 บาท”
“นายจ้างผมเป็นคนมีเมตตา จึงเปิดโอกาสให้เรียนต่อ ระหว่างทำงานเป็นคนสวน จึงเข้าเรียน กศน. ไปด้วย จนกระทั่งจบชั้น ม.3 จากนั้น เข้าทำงานในโรงงานวัสดุเครื่องใช้ในครัวเรือนอยู่ 1 ปี จนเมื่ออายุ 21 ปี จึงกลับไปเกณฑ์ทหารที่บ้านเกิด หลังจากปลดประจำการ แต่งงานมีครอบครัว และยึดอาชีพทำงานนาเป็นหลัก พอหมดฤดูทำนาในแต่ละปี ก็จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ รับจ้างขายไอศครีม”
ชีวิตของเขาวนเวียนอยู่เช่นนี้หลายปี จน 2535 น้องชายคนที่ 2 ซึ่งรับจ้างวิ่งส่งลูกชิ้นในกรุงเทพฯ ได้แนะนำให้มาขายก๋วยเตี๋ยวดู เพราะเห็นร้านก๋วยเตี๋ยวลูกค้าที่เขาวิ่งส่งต่างขายดีทั้งนั้น พันธุ์รบ เกิดความสนใจ จึงชวนภรรยาเข้ากรุงเทพฯ ลงทุนหารถเข็น ขายก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นน้ำใส แถวหน้าสนามธูปะเตมีย์ หลังจากนั้น จึงเปลี่ยนมาขายบะหมี่ด้วย
“ผมถือว่า นี่เป็นจุดพลิกผันของชีวิตเลยทีเดียว ธุรกิจขายก๋วยเตี๋ยว ประสบความสำเร็จมาก แค่ 2 ปี มีเงินเก็บถึง 6-7 แสนบาท”
“จนปี 2537 ผมเริ่มทดลองผลิตเส้นบะหมี่เพื่อขายเองในร้าน เพราะต้องการลดต้นทุน และในอีกประการ เพราะเส้นบะหมี่ที่รับมาคุณภาพไม่เป็นตามต้องการ แต่ช่วงแรกลำบากมาก เพราะเราไม่มีความรู้ใดๆ ในกระบวนการผลิต อีกทั้งยังไม่มีเครื่องมือ เราก็ต้องทุ่มเทเรียนรู้ด้วยตนเอง ใช้มือนวดแป้งเอง จนผ่านไป 1 ปีเต็มจึงได้สูตรลงตัวเป็นที่พอใจของลูกค้า”
เมื่อกิจการของตัวเองประสบความสำเร็จ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆ คนอยากมาขายบะหมี่รถเข็นบ้าง พันธุ์รบจึงได้เริ่มผลิตเส้นส่งให้กับพ่อค้าหน้าใหม่เหล่านี้
“ชายสี่ บะหมีเกี๊ยว แตกสาขาออกไปทีละเล็กละน้อย และเพิ่มจำนวนขึ้นไม่ขาดสาย จนเลิกขายเอง หันมายึดอาชีพผู้ผลิตเส้นบะหมี่ขายพร้อมสูตรต่าง ๆ ในระบบแฟรนไชส์ เช่นในปัจจุบัน แม้ว่าเดี๋ยวนี้ จะมีคู่แข่งรายใหม่ๆ เข้ามา แต่ยอดลูกค้าของเรา ไม่เคยตก”
แม้จะมีความรู้เพียงแค่ ม.3 แต่พันธ์รบ เชื่อว่า ความเป็นคนรักการอ่าน และมุ่งมั่นศึกษาด้วยตัวเอง เป็นส่วนสำคัญให้เขามีวันนี้
“การเรียนในสถานการศึกษา คือการเรียนรู้จากนักวิชาการ และตำรา แต่ในความจริง มันแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ผมเป็นอ่านหนังสือเยอะ และเป็นคนช่างสังเกต ผมจะมีสมุดโน้ตติดตัวตลอด เวลาดูทีวีเห็น หรืออ่านหนังสืออะไรก็ตาม ที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารงาน ธุรกิจ หรือวางตัว เพื่อปกครองลูกน้อง ผมจะโน้ตสรุปย่อไว้ แล้วก็พูดอัดเสียงเก็บไว้ เพื่อไม่ต้องอ่านอีก แล้วก็จะมาเปิดฟังอยู่เสมอๆ เพื่อเป็นการย้อนสมองตัวเอง“
เปิดอาณาจักร “ชายสี่” 10 ปี ทะลุ 2,000 สาขา
นับจากปี 2537 จากรถเข็นขายบะหมี่เกี๊ยวคันเดียว ระยะแค่ 10 ปี ปัจจุบัน “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” มีสาขาทั่วประเทศมากกว่า 2,000 สาขา โดยแบ่งเป็นในกทม. 70% ตจว. 30% พนักงานประจำ 120 คน มีโรงงานผลิตและส่งสินค้า 5 แห่ง ทั้งใน กทม. และตามภาคต่างๆ
ยอดส่งเส้นบะหมี่ และแผ่นเกี๊ยว ประมาณ 5-6 ตันต่อวัน คิดอัตราขายรวมค่าขนส่ง 37 บาทต่อกิโลกรัม โดยโรงงานมีศักยภาพผลิตได้สูงสุดถึงวันละ 20 ตัน นอกจากนั้น ยังมีรายได้จากการขายแฟรนไชส์ พร้อมอุปกรณ์ 47 รายการ สำหรับลูกค้า ในราคา 33,000 บาท
“ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” ชื่อนี้ได้แต่ใดมา ?
ที่มา ของชื่อ “ชายสี่ บะหมี่เกี๊ยว” พันธ์รบ บอกว่า ตั้งขึ้นมาเอง โดยไม่ได้ตั้งใจจะสื่อความหมายอะไรเลย เพราะตอนที่คิดแค่อยากได้ชื่อที่เห็นชัดๆ สะดุดตา เมื่อคำนวณจากขนาดป้ายแล้ว เห็นว่าไม่ควรเกิน 4 พยางค์ ตัวเองเป็นคนชอบอ่านนิยายจีน จึงอยากตั้งใจให้ชื่อออกเป็นแนวจีนๆ ตอนแรกคิดไว้หลายชื่อเช่น ปักกิ่ง ป๊ะป๋า ราชินี จนมาลงตัวที่ “ชายสี่” เพราะคล้องกับคำว่า “บะหมี่เกี๊ยว” ภายหลังเมื่อชื่อเริ่มติดหู ลูกค้าที่กินจึงให้คำอธิบายเสียเองว่า ชื่อ ชายสี่ เพราะมีพี่น้องที่เป็นผู้ชายด้วยกัน 4 คน 
 แม่กิมลั้ง & แม่กิมไล้ 


“แม่กิมไล้” ถือเป็นร้านหนึ่งในตำนานขนมหวานและขนมหม้อแกงเมืองเพชร ตอนนี้คุณแม่กิมไล้อายุ 75 ปี ดำรงชีวิตมากับขนมไทยเมืองเพชรเลยก็ว่าได้ และประสบความสำเร็จกับฝีมือการทำขนมหม้อแกง ตรา “แม่กิมไล้” ขณะนี้เปิดกิจการนี้มา 50 ปีแล้ว คุณแม่กิมไล้ชอบทำขนมมาตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึงอายุ 75 ปี ก็ยังชอบทำขนมอยู่
คุณแม่กิมไล้ใช้ชีวิตขายขนมหวานแบบไทยๆ จะขายประจำที่จังหวัดเพชรบุรี ในขณะเดียวกันที่คุณกลม (สามี) รับราชการเป็นตำรวจ ย้ายมาอยู่ที่เพชรบุรี จาก เดิมที่เป็นเพียงแม่ค้าขายขนมธรรมดาๆ แต่เพราะชอบทำขนม มีใจรัก จึงทำให้มีกำลังใจต่อสู้ และไม่เคยคิดที่จะไปแข่งกับใคร ขนมในร้านทุกอย่างส่วนใหญ่จะทำเองหมดประมาณ 70% จนกระทั่งมาถึงวันงานกาชาดและสงกรานต์ประจำปี โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีคือ คุณเอนก พยัคฆ์พันธ์ ได้จัดให้มีการประกวด “การทำขนมไทยเมืองเพชร” ก็มีผู้มาร่วมเข้าแข่งขันมากมาย หนึ่งในนั้นคือ
“คุณแม่กิมไล้” เข้าร่วมการประกวดในครั้งนี้ด้วย โดยการประกวดคือ ให้ทำขนมหม้อแกงสูตรของตนเอง โดยมีคณะกรรมการผู้ตัดสินหลายคนจะให้คะแนนสุดยอดขนมไทยเมืองเพชร ซึ่งผู้ตัดสินที่ให้คะแนนจะไม่สามารถรู้ได้ว่าขนมที่ได้ชิมเป็นของใคร? เพราะไม่มีการติดชื่อ ให้เพียงทำเป็นสัญลักษณ์เอาไว้เพื่อให้เจ้าของขนมรู้ และผลการตัดสินคือ “แม่กิมไล้ได้รับรางวัลชนะเลิศ”
ต่อมา แม่กิมไล้ จึงทำขนมหม้อแกงจำหน่ายให้ลูกค้าได้ทดลองชิมรสชาติขนมหม้อแกงที่คิดสูตรเอง ลูกค้าที่ลองทานจะชอบรสชาติอันหอมหวานของขนมหม้อแกงสูตรแม่กิมไล้และบอกต่อๆ กัน ทำให้ลูกค้ารู้จักร้านขนมหม้อแกงแม่กิมไล้กันมากขึ้น

ผู้พันแซนเดอร์ส KFC





มีชายคนหนึ่ง พ่อของเขาเสียชีวิตตอนที่เขาอายุได้เพียงห้าขวบเขาต้องออกจากโรงเรียนกลาง คัน ขณะอายุ 16 ปี ตอนอายุ 17 ปี เขาแสดงความสามารถพิเศษด้วยการตกงานติดต่อกันถึง 4 ครั้งเขาแต่ง งานตอนอายุ 18 ปี ปีถัดมาเขาได้เป็นพ่อคนแต่ชีวิตคู่ของเขาก็มีความสุขอยู่ได้ไม่นานนัก อายุ 20 ปี ภรรยาของเขาพาลูกสาวหนีไปเพราะทนใช้ชีวิตกับเขาไม่ได้ช่วงอายุ 18-22 ปี เขาประกอบอาชีพเป็นคนขายตั๋วรถไฟแล้วก็ล้มเหลวแต่เขาก็ยังต่อสู้กับชีวิต ด้วยการหาโอกาสให้ชีวิต แต่ทุกอย่างที่เขาทำก็ไม่วายล้มเหลวเหมือนเดิมเขาสมัครเข้าเป็นทหารในกองทัพ แต่ก็ถูกขับออกมาหันเหมาสมัครเข้าโรงเรียนกฎหมาย แต่ด้วยความสามารถอันเอกอุเขาถูกปฏิเสธอย่างไม่ใยดีแล้วเขาก็ไปทำงานเป็น พนักงานขายประกัน แน่นอนที่สุดเขาล้มเหลวอีกครั้ง (แล้ว)
แค่เกริ่นมาข้างต้นก็คงไม่ต้องบอกว่า ชายคนนี้ทำอะไรไม่ได้เรื่องเลยสักอย่าง !แต่ ก็อย่างว่าแหละ คนเราอะไรมันจะไม่ได้เรื่องไปเสียหมดสิ่งเดียวที่เขาพบว่า เขาทำได้ดีก็คือ การทำอาหารดังนั้นเขาจึงไปทำงานเป็นพ่อครัวและคนล้างจานในร้านกาแฟเล็กๆ แห่งหนึ่ง แต่นั่นก็ไม่ใช่ชีวิตที่ทรงคุณค่าอะไรเลยในความคิดของเขาชีวิตที่ร้านกาแฟ เขามีเวลามากมายที่จะนั่งคิดและทำอะไรได้มากพอสมควรแต่เขากลับเลือกใช้เวลา นั่งคิดถึงภรรยาและลูกสาวของเขาเขาเพียรพยายามติดต่อภรรยาและอ้อนวอนให้เธอ กลับมาใช้ชีวิตร่วมกันอีกครั้ง แต่ได้รับคำปฏิเสธ เขาเปลี่ยนความคิดใหม่ เขาไม่ต้องการภรรยาอีกต่อไป ขอเพียงแต่ได้ลูกสาวกลับคืนมาก็พอเพราะเขารักและคิดถึงเธอเหลือเกินเขาใช้ เวลาว่างในร้านกาแฟวางแผนในการนำลูกสาวกลับคืนมาสู่อ้อมอกของตนเขาวางแผนทุก ขั้นตอนละเอียดยิบ คำนวณทุกฝีก้าวในที่สุดแผนการอันแสนยาวนานก็เสร็จสิ้นลงเมื่อเวลาผ่านไป หนึ่งสัปดาห์ คุณพ่อวัยรุ่นผู้น่าสงสารซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้นอกบ้านหลัง เล็กๆ ของภรรยาของเขาเฝ้ามองลูกสาวของเขาเล่นอยู่หน้าบ้านและเตรียม พร้อมที่จะ "ลักพาตัวเธอ!"แล้ววันที่ตั้งใจไว้ก็มาถึง เขาซ่อนตัวอยู่หลังพุ่มไม้อย่างระมัดระวัง แม้จะรู้สึกกังวล ตื่นเต้น และตระหนกอยู่บ้างแต่นั่นมิอาจเทียบได้กับความรักที่เขามีต่อลูก
เขาตัดสินใจที่จะต้องลงมือทำให้สำเร็จ แต่แล้วอนิจจา วันนั้นลูก สาวของเขาไม่ออกมาเล่นหน้าบ้านเลยแม้กระทั่งความพยายามในการก่ออาชญากรรม เขาก็ยังล้มเหลวเขารู้สึกเหมือนคนที่พ่ายแพ้ต่อโชคชะตา รู้สึกเหมือนคนไม่มีค่าและเหมือนพระเจ้ากำหนดมาแล้วว่าเขาจะต้องอยู่เพียง ลำพังไปตลอดชีวิตแต่เหมือนปาฏิหาริย์ ในที่สุดเขาก็สามารถโน้มน้าวภรรยาให้กลับมาอยู่ด้วยกันได้พวกเขาทำงานด้วย กันในร้านกาแฟแห่งนั้น ทำอาหารและล้างจานอยู่จนกระทั่งเขาเกษียณ ตอนอายุ 65 ปี วันแรกของการเกษียณอายุ เขาได้รับเช็คเงินประกันสังคมฉบับแรกของเขา เป็นเงิน 105 ดอลลาร์(ราวสี่พันบาท)เช็คดังกล่าวเหมือนเป็นตัวแทนของรัฐที่ฝากมาบอกเขาว่า เขาไม่อาจจะดูแลตัวเองได้อีกต่อไปแล้ว ทั้งหมดที่เขาทำได้ก็คือใช้ชีวิต อยู่จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิตด้วยเงินสนับสนุนจากรัฐบาลมันไม่ใช่ครั้ง แรกที่เขารู้สึกถูกปฏิเสธ ล้มเหลว เสียกำลังใจ และท้อแท้ชีวิตของเขาได้รับความผิดหวังอีกครั้งหนึ่งหลังจาก 65 ปีอันยาวนานเขาบอกกับตัวเองว่าถ้าเขาดูแลตัวเองไม่ได้ ต้องมีชีวิตอยู่โดยให้รัฐบาลดูแลเขาก็ไม่สมควรจะมีชีวิตอีกต่อไป เขาตัดสินใจ (อีกแล้ว) ว่า "จะฆ่าตัวตาย"
เขาหยิบกระดาษหนึ่งแผ่นกับดินสอหนึ่งแท่งนั่งลงใต้ต้นไม้ในสวนหลัง บ้านอย่างสงบ ตั้งใจที่จะเขียนคำสั่งเสียและพินัยกรรมแต่แทนที่จะทำเช่นนั้น กลับเหมือนมีอะไรมาดลใจ เหมือนเป็นครั้งแรกที่ชีวิตเกิดปัญญาเขาเริ่มต้นเขียนสิ่งที่เขาควรจะเป็น ชีวิตที่เขาควรจะมี และสิ่งที่เขาปรารถนาในช่วงชีวิตสุดท้ายที่เหลืออยู่เขาตกใจมาก เมื่อค้นพบความจริงในชีวิตว่า เขายังไม่เคยทำอะไรสำเร็จเป็นชิ้นเป็นอันกับเขาสักอย่างเลย ! (เพิ่งนึกได้) เขานั่งครุ่นคิดกับตัวเองอย่างจริงจัง มีบางอย่างที่เขาสามารถทำได้บางอย่างที่คนที่รอบตัวทำสู้เขาไม่ได้ ใช่ ! เขารู้วิธีปรุงอาหารชีวิตเกือบทั้งหมดของเขา อยู่ที่หน้าเตาร้อนๆ มาตลอด
เขาตัดสินใจกับตัวเองอีกครั้งในที่สุดเขาเลือกที่จะมีชีวิตอยู่เพื่อทำ อะไรสักอย่างในชีวิตให้ประสบความสำเร็จเขาตั้งใจว่าถ้าเขาจะตาย เขาก็อยากจะตายในแบบที่ได้ลองพยายามเป็นใครสักคนและทำบางสิ่งบางอย่างที่มี ค่าด้วยชีวิตที่เหลืออยู่น้อยนิดของเขาเขาลุกจากเงาไม้ มุ่งหน้าไปยังธนาคารในเมือง เพื่อขอยืมเงินจำนวน 87 ดอลลาร์จากเช็คประกันสังคมฉบับต่อไปของเขาด้วยเงิน 87 ดอลลาร์นั้น เขาซื้อกล่องเปล่าและไก่จำนวนหนึ่ง จากนั้นเขาก็กลับไปที่บ้านและลงมือทอดไก่ที่ซื้อมาด้วยสูตรพิเศษที่เขาได้ คิดค้นขึ้นมาในช่วงหลายปีที่ทำงานที่ร้านกาแฟนั้นเขาเริ่มขายไก่ทอดของเขา ตามบ้านต่างๆ ในเมืองคอร์บิน รัฐเคนตั๊กกี้ของเขาแล้วคนขายไก่ทอดอายุ 65 ปีคนนั้นก็กลายมาเป็นผู้พันฮาร์แลนด์ แซนเดอร์สราชาผู้เป็นที่รักของอาณาจักร Kentucky Fried Chicken หรือที่เรารู้จักกันในนาม นั่นเอง
ตอนอายุ 65 ปี เขาเป็นเหมือนอนุสรณ์แห่งความล้มเหลวที่ยังมีชีวิต แต่ในวัย 85 ปีเขาก็กลายเป็นเศรษฐีพันล้านและมีชื่อเสียงไปทั่วโลก มีผู้คนให้เกียรติเขาทั่วประเทศ เรื่องราวชีวิตของผู้พันแซนเดอร์ส เป็นอีกบทหนึ่งของเรื่องราวความสำเร็จที่ได้รับคำยกย่องจากผู้คนทั่วโลก แต่ใครจะรู้บ้างว่าหากใต้ต้นไม้วันนั้นผู้พันแซนเดอร์สได้ทำตามที่เขาตั้งใจ ไว้แต่แรกตำนานไก่ทอดสะท้านโลกก็คงจะไม่มีให้เราได้เห็นกัน จริงอย่างที่เขาว่า
ความสำเร็จกับความล้มเหลวห่างกันเพียงแค่พลิกฝ่ามือมันอยู่ที่ว่าคุณเลือกที่จะ "สู้ต่อ" หรือ "ยอมแพ้"
สำหรับผู้พันแซนเดอร์ส 65 ปี ของชีวิตที่ล้มเหลว เทียบคุณค่าอะไรไม่ได้เลยกับ 20 ปีแห่งความสำเร็จแล้วชีวิตของคุณหละ ล้มเหลวมากพอหรือยัง ?










































หลังจากนั้นก็ Present  เช่นเคย