ยินดีตอนรับสู่ กศน.แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
"รอยยิ้มแห่งความสำเร็จ"

ยุวกาชาด CPR 12-07-15



ประวัติกาชาด


ขั้นตอนการทำ CPR


รายระเอียดการทำ CPR

การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR : Cardiopulmonary resuscitation ) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง
ประวัติและวิวัฒนาการของการช่วยฟื้นคืนชีพ
   1950 stephenson & et. นวดหัวใจแบบเปิด นวดหัวใจแบบเปิด
   1956 Zoll & et. ใช้กระแสไฟแก้ไขภาวะ VF
   1958 Safar & et. เสนอเทคนิคการเป่าปากช่วยหายใจ
   1960 Kouwehowen & et. นวดหัวใจภายนอก
   1966 ประชุม CPR conference 1,2,3,4
   1983 first nation conference on pediatric resuscitation
   2000 AHA the first international guidelines conference on CPR & ECC

วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ
1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ
2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ
3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว

          CPR เป็น การช่วยให้มีการไหลเวียนเลือดและการหายใจกลับฟื้นคืนมา ในระยะที่หัวใจและการหายใจหยุดอย่างกระทันหัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และมี 9 ขั้นตอน เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้นจึงเรียงลำดับ A B C D E F G H I ดังนี้

          1. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ( Basic Cardiac Life Support : BCLS ) เป็น การช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขาดเลือดและออกซิเจนไป เลี้ยงส่วนสำคัญของร่างกาย โดยเน้นหลักการช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นขั้นตอนเริ่มตั้งแต่ Airway : A, Breathing : B, Circulation : C

          2. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ( Advanced Cardiac Life Support : ACLS ) เป็นการ CPR ที่ประกอบด้วย BCLS ร่วมกับ
                    D : Drug and Fluid คือ การให้ยาเพื่อช่วยระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ ตลอดจนการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำที่จำเป็น
                    E : Endrotracheal tube และ Electrocardioglaphy และ Evaluation คือ การใช้เครื่องมือที่ช่วยการหายใจและระบบไหลเวียน เช่น การให้ออกซิเจน การใส่ท่อช่วยหายใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ECG หรือ EKG เพื่อวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ และติดตามภาวะผิดปกติของหัวใจ
                    F : Fibrillation treatment คือการกระตุ้นหัวใจด้วยไฟฟ้า เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นอย่างปกติ ( Defibrillation )

          3. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นประคับประคองให้มีชีวิตยืนยาว ( Prolonged Cardiac Life Support : PCLS) เป็น การรักษาพยาบาลเพื่อพยุงให้กลับสู่ภาวะปกติ เฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิต ยืนยาวขึ้น ป้องกันความพิการและฟื้นฟูการทำงานของระบบต่าง ๆ ประกอบด้วย
                    G : Gauging คือ กรประเมินสภาพผู้ป่วยและการช่วยกู้ชีวิต
                    H : Human mentation คือ การป้องกันความพิการถาวรของสมองจากการขาดออกซิเจน
                    I : Intensive care คือ การดูแลอย่างใกล้ชิด รักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อไป ณ หน่วยงานที่มีความพร้อมในด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ เช่น ใน ICU , CCU


การทำ CPR ขั้นพื้นฐาน ( BCLS )

          เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหวต้องสำรวจขั้นพื้นฐานโดย
          1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเขย่าตัวเบา ๆ ซึ่งอาจพูดว่า คุณ ๆ ตื่น ๆ เป็นอะไรหรือเปล่า

          2. เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ๆ เพราะในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในระยะอันสั้น ควรมีคนมาช่วยมากกว่า 1 คน เพื่อจะได้ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือต่อไป เช่น พูดว่าช่วยด้วย ๆ มีคนหมดสติ
          3. จัดท่าผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็งเพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวด หัวใจ การทำ CPR จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรง ศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจจึงจะทำ CPR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่าผู้ป่วยนี้จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที
          4. A : Airway การดูแลทางเดินหายใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ดังนี้
                    4.1 Clear airway ตรวจ ปากและช่องคอว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษอาหาร เลือด เสมหะ ฟันปลอมอยู่หรือไม่ เมื่อพบต้องเอาออกโดยใช้ผ้าพันนิ้วกวาดเช็ดออกมาหรือใช้เครื่องดูดออก
                    ในกรณีทางเดินหายใจอุดกั้นโดยสิ่งแปลกปลอม สังเกตจากผู้ป่วยหายใจมีหน้าอกบุ๋ม เสียงครืดคราดหรือมีเสียง wheese ให้ทำการช่วยเหลือ โดยใช้วิธีกดหน้าท้อง ( Abdominal thrusts / Heimlich maneuver ) หรือกดหน้าอก ( Chest thrusts ) สำหรับในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ให้ใช้การตบหลัง ( Back blows ) และกดหน้าอก ร่วมกันเพื่อช่วยให้สิงอุดกั้นทางเดินหายใจหลุดออกมา        
                    4.2 Open airway ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากผู้ป่วยที่หมดสติกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะหย่อน โคนลิ้นและ กล่องเสียง ( epiglottis ) ตกไปทางด้านหลังในท่าที่ผู้ป่วยนอนหงาย อุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจ โดยเร็วดังวิธี
- Head tilt chin lift คือ การดึงขากรรไกรขึ้นแล้วกดหน้าผากให้แหงนหน้า
- Jaw thrust maneuver คือ การดึงขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง ไปข้างบน โดยผู้ช่วยเหลือยืนเหนือศีรษะในขณะที่ผู้ป่วยนอนราบ โดยไม่ต้องเเหงนคอผู้ป่วย วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่แนะนำให้ทำในกรณีผู้ป่วยหมดสติและมีปัญหาของการได้ รับบาดเจ็บบริเวณคอ หรือไขสันหลัง
          5. B : Breathing คือ การช่วยหายใจด้วยการ เป่าปากผู้ป่วย ( Mouth to mouth ) โดยการเป่าปากครั้งละประมาณ 5 วินาที หรือ12 ครั้ง/นาที แต่ถ้ากรณีผู้ป่วยหัวใจไม่เต้นต้องเป่าปากพร้อมกับนวดหัวใจ
                    กรณีผู้ป่วยหมดหยุดหายใจในโรงพยาบาลให้เริ่มช่วยการหายใจทันทีโดย Self – Inflating lung bag พร้อม mask โดยเปิดออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาที โดยบีบ bag ให้ได้ปริมาตร 600 มล. 12 ครั้งต่อนาที ในกรณีมีการกดหน้าอกร่วมด้วยให้สัมพันธ์กันในอัตราส่วนการกดหน้าอก 15 ครั้ง ต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง    
ภาวะแทรกซ้อน
 - กระเพาะอาหารโป่งและการอาเจียนเนื่องจากการบีบ bag แรงไป หรือจากการจัดท่าศีรษะไม่ดีพอทำให้ลมเข้ากระเพาะมาก
- อากาศรั่วถ้าหน้ากากครอบไม่แนบสนิท
- อันตรายต่อกระจกตา ( Cornea ) จากหน้ากากกดนัยน์ตา
- ภาวะอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด โดยเฉพาะในเด็กถ้าบีบแรงเกินไป
          6. C : Circulation การ กดหน้าอกหรือการนวดหัวใจ ให้มีการฉีดเลือดออกจากหัวใจ เพื่อดำรงไว้ซึ่งการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมอง หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ไตและอวัยวะอื่น ๆ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
                    6.1 จัดท่าผู้ป่วยในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง หรือสอดไม้กระดานหนาและแข็งรองผู้ป่วยไว้ ไม่ใช้หมอนหนุนศีรษะ
                    6.2 ตำเเหน่งที่วางมือเพื่อนวดหัวใจผู้ป่วย คือ ตอนล่างของกระดูก sternum เหนือรอยต่อของกระดูก sternum และ xiphoid
                    6.3 การ กดใช้แต่สันมือกดโดยไม่ให้นิ้วมือสัมผัสกับผู้ป่วยเลย ใช้มือข้าหนึ่งวางซ้อนบนมืออีก ข้างหนึ่ง สำหรับผู้ใหญ่ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ใช้นิ้วนางและนิ้วกลางกด สำหรับเด็กอายุ 1 – 8 ขวบ ใช้สันมือข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ( Heel of hand )
                    6.4 ถ้า ผู้ป่วยนอนอยู่บนพื้นผู้กดนวดหัวใจต้องคุกเข่า แต่ถ้าอยู่บนเตียงผู้กดนวดต้องยืน แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงและขนานกัน ไหล่อยู่ในแนวเหนือกระดูก sternum ของผู้ป่วยพอดี
                    6.5 วิธีกดนวดหัวใจ กดหน้าอกที่บริเวณดังกล่าวอย่างเร็วและแรงให้กระดูก sternum ยุบลงไปประมาณ 1.5 –2 นิ้ว ( 3.5 ซ.ม. )ในผู้ใหญ่ , 0.5 – 1 นิ้ว ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และ 1 – 1.5 นิ้ว ในเด็กอายุ 1 – 8 ขวบ การกดหน้าอกในผู้ใหญ่ ใช้ hip joints ของผู้กดนวดเป็นจุดหมุน ควรกดนวดอย่างสม่ำเสมอและนุ่มนวล ไม่ชะงักหรือกระตุก ในอัตรา 80 – 100 ครั้ง / นาที สำหรับผู้ใหญ่ และ 100 ครั้ง / นาที สำหรับเด็ก ในขณะที่กดแต่ละครั้งให้นับดัง ๆ หนึ่งและสองและสามนับไปจนกระทั่งถึง 15 แล้วค่อยสลับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง ( CPR 2005 ) ถ้าต้องการหยุดเพื่อสับเปลี่ยนคนกด ให้หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาที ขณะทำการกดสันมือจะต้องแตะกับทรวงอกของผู้ป่วยตลอดเวลา แต่ไม่ทิ้งน้ำหนักไว้บนอกของ ผู้ป่วย เพราะจะทำให้ห้องหัวใจขยายตัวเพื่อรับปริมาณเลือดที่ไหลกลับได้ไม่เต็มที่ ให้ทำติดต่อกันจนกว่าหัวใจจะสามารถทำงานได้เอง

                    การนวดหัวใจและการช่วยการหายใจต้องทำร่วมกันและสัมพันธ์กันโดยการนวดหัวใจ 15 ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทั้งกรณีที่กระทำ CPR เพียงคนเดียว และ กรณีการทำ CPR 2 คน ( CPR 2005 ) เมื่อสิ้นสุดนาทีแรกของการ CPR หรือครบ 4 รอบ ตรวจสอบการเต้นของหัวใจและการเต้นของชีพจรบริเวณ Carotid Pulse ในผู้ใหญ่ และ Brachial Pulse ในเด็ก ใช้เวลาในการตรวจสอบไม่เกิน 5 – 10 วินาที ถ้ายังไม่มีชีพจรให้ทำการ CPR ต่อไป รวมทั้งการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของ ผู้ป่วยที่เกิดขึ้นระหว่าง CPR เช่น รูม่านตาเล็กลง ผิวหนังซีดเขียวน้อยลง แสดงว่ามีการไหลเวียนเลือดดีขึ้น



          การทำ ACLS เป็นการปฏิบัติต่อจาก BCLS หรือ ปฏิบัติ A, B, C มาแล้ว จึงมีขั้นตอน คือ D : Drug and Fluid , E : Endrotracheal tube และ Electrocardioglaphy และ Evaluation ,F : Fibrillation treatment
         
การกระตุ้นไฟฟ้า ( Fibrillation treatment / Cardiac defibrillation )
                    Defibrillation หมาย ถึง การรักษาภาวะหัวใจกำลังจะหยุดเต้นโดยการปล่อยไฟฟ้ากระแสตรงหรือการกระตุ้น ไฟฟ้า ที่มีพลังงานสูงเข้าสู่หัวใจในช่วงเวลาสั้น ๆ ( เป็นวินาที ) เพื่อให้หัวใจที่กำลังเต้นไม่สม่ำเสมอเกิด depolarization ชั่วคราว ทำให้ electrical activity ในหัวใจหยุดไปชั่วขณะ เปิดโอกาสให้ กล้ามเนื้อหัวใจสามารถรับสัญญาณไฟฟ้าจาก SA node ตามปกติใหม่อันจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหดหรือบีบตัวอย่างมีระเบียบกลับคืนมา
การ กระต้นไฟฟ้า ควรรีบทำให้เร็วที่สุดจึงจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยให้มากขึ้น ถือเป็นมาตรฐานและองค์ประกอบหลักของการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น เนื่องจาก
                    1. สาเหตุของหัวใจหยุดเต้นอย่างเฉียบพลันที่พบบ่อยที่สุดคือ VF
                    2. การรักษา VF ที่ได้ผลดีที่สุดคือ การทำ Defibrillation
                    3. ความสำเร็จของการทำ Defibrillation จะลดลงอย่างมากถ้าปล่อยเวลาผ่านไปนาน
                    4. VF จะเปลี่ยนเป็นภาวะ Asystole ในเวลาอันรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการรักษา
การ ใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจเริ่มต้นที่ขนาด 200 , 300 - 360 จูล ( Joules ) ถ้าหากใช้ energy ขนาดต่ำเกินไป จะทำให้จังหวะการเต้นของหัวใจไม่กลับคืนมา แต่ถ้าสูงเกินไป จะทำให้ myocardium ถูกทำลาย
          ข้อควรระวัง                    
                    1. แกะยาขยายหลอดเลือดที่แปะหน้าอกออก
                    2. ห้ามสัมผัสผู้ป่วยและเตียงผู้ป่วย
                    3. ควรวิเคราะห์ EKG 12 lead
                    4. บันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจก่อน ขณะและหลังปล่อย energy เพื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลง
                    5. เมื่อทำเสร็จเเล้ว ควรวัดความดันโลหิต และสังเกตการหายใจและการเต้นของหัวใจ

          ภาวะแทรกซ้อนจากการทำ CPR
                    1. กระดูกซี่โครงหัก
                    2. มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด
                    3. ม้ามแตก
                    4. ตับแตก  
                    5. สมองพิการจากการขาดออกซิเจนเป็นเวลานาน
                    6. กระดูกสันหลังส่วนคอหักจากการแหงนคอผู้ป่วยมากเกินไป

สาเหตุของการทำ CPR ไม่ได้ผล

          1. วิธีการและขั้นตอนในการทำ CPR ไม่ถูกต้อง
          2. เริ่มลงมือทำ CPR ช้าเกินไป
          3. ตกเลือดอย่างรุนแรง หรือมีเลือดออกในช่องหัวใจ
          4. ปอดถูกทำลายอย่างรุนแรง
          5. เส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจถูกอุดกั้น หรือเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ
          6. ผู้ป่วยอยู่ในภาวะเสียน้ําและอิเล็คโตรลัยท์อย่างรุนแรงหรือมีการติดเชื้อในกระแสเลือด
          7. กระดูกซี่โครงและกระดูกหน้าอกหักจากการนวดหัวใจ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อปอดอย่างรุนแรง

 
หยุดทำ CPR เมื่อไหร่ ? DNR ( Do not resuscitation )
- ผู้ป่วยบางรายไม่ควรทำการกู้ชีพ ถือว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้และอาจจะเหมาะสมกว่า ได้แก่ ประสงค์ทำพินัยกรรมชีวิต(Life will) คณะผู้รักษาควรปรึกษากับญาติ เพื่อหาข้อตกลงร่วมกันเพื่อลดปัญหาที่จะตามมาจากการสื่อสารที่เข้าใจไม่ตรง กัน
- กรณี ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คุณภาพชีวิตโดยทั่วไปไม่ดี เช่น มะเร็งระยะสุดท้าย อาจยืดชีวิตได้บ้างแต่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมาน ควรหาข้อตกลงระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ
- คำสั่งการรักษาเพื่อจะจำกัดการรักษาบางอย่างหรือทุกชนิดเพื่อยืดชีวิต ควรเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างทีมผู้รักษา ผู้ป่วยและญาติ
- DNR ไม่ได้หมายถึงการหยุดการดูแลผู้ป่วย แต่การดูแลทั่วไปยังดำเนินไป ยกเว้นการกู้ชีพในกรณีหัวใจหยุดเต้น


แหล่งอ้างอิงข้อมูล

วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี. การช่วยฟื้นคืนชีพ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 2 มกราคม 2555, จาก http://www.bcnnon.ac.th/download/bcnnon/CPR1.pdf


แหล่งค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม 

- อาสาหน่วยกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญู. การทำ CPR. ที่ http://emergencyteam.is.in.th/?md=news&ma=show&id=2
- บุศริน เอี่ยวสีหยก. การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (Basic Life Support). ที่่ http://www.rescue19-id4.com/documents/chapter2-2.pdf

- คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี. คู่มือการช่วยกู้ชีพในเด็ก (CPR). ที่ http://www.thaipedlung.org/download/CPR_Newversion.pdf
- ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary resuscitation : CPR). ที่ http://www.fire2fight.com/articles.php?cat_id=7  
- มูลนิธิสว่างคีรีธรรม จังหวัดเลย. ขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR). ที่ http://swangkeelee.is.in.th/?md=content&ma=show&id=27 


บรรยากาศในงาน

เราตั้งใจฟังวิทยากร

สันมือกดหน้าผากสองนิ้วเชยคาง

รุ่นพี่กำลังสาธิตให้น้องๆดู

พี่รุ่งรัตน์ทำCPR ก่อนใคร




อาจารย์ ดวงใจ