ยินดีตอนรับสู่ กศน.แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี
"รอยยิ้มแห่งความสำเร็จ"

เกี่ยวกับ


1.  ชื่อ  :  กศน.แขวงมักกะสัน
2. สังกัด  :  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเขตราชเทวี   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกรุงเทพมหานครฯ   สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
3. ประวัติความเป็นมา
             แขวงมักกะสัน   ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ติดตลาดประตูน้ำ นิคมมักกะสัน และอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง อีกทั้งยังเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในกรุงเทพได้สะดวกด้วยรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์  เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและการท่องเที่ยว
              กศน.แขวงมักกะสัน ตั้งอยู่  วัดดิสหงษาราม เลขที่ 39 ถนนเพชรบุรีตดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร
 กศน.แขวงมักกะสัน  มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พ.ศ. 2551  จัดการเรียนการสอนผู้ไม่รู้หนังสือ เพื่อให้อ่านออกเขียนได้ การศึกษาในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย การศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรเพื่อการมีงานทำ การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดให้มีบ้านหนังสืออัจฉริยะในชุมชน การจัดตั้ง กศน.แขวงมักกะสัน มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายตามความต้องการของผู้เรียน เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันสำหรับผู้สนใจและประชาชนในชุมชน สามารถแบ่งกิจกรรมหลักของ กศน.แขวงมักกะสัน ได้ดังนี้
1.  จัดและส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีคุณภาพเพื่อ ยกระดับการศึกษา สมรรถนะในการเรียนรู้และการแก้ปัญหา พัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิตและสังคม และเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน   ของประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
2.  ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการ ดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยของภาคีเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศ   โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศอาเซียนเพื่อผนึกกําลังในการพัฒนาคุณภาพของประชากร
3.  พัฒนาสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา   และส่งเสริมการนําเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย   และการพัฒนาทักษะการเรียนรู้เพื่อให้ รู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
4.  ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของคนในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และศูนย์การเรียนในรูปแบบต่างๆ
5.  พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้สามารถดําเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


4. ข้อมูลชุมชน
4.1 อาณาเขตติดต่อ
 มีพื้นที่ 2.882 ตารางกิโลเมตร   ตั้งอยู่ใจกลางเมืองกรุงเทพฯ  ติดตลาดประตูน้ำ นิคมมักกะสัน และอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง อีกทั้งยังเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในกรุงเทพได้สะดวกด้วยรถไฟแอร์พอร์ตลิงค์  เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยและการท่องเที่ยว
               ทิศเหนือ     ติดต่อกับพื้นที่   แขวงทุ่งพญาไท
               ทิศใต้ติด      ต่อกับพื้นที่       เขตห้วยขวาง
               ทิศตะวันออก  ติดต่อกับพื้นที่    เขตดินแดง
          4.2 การปกครอง
          ประกอบไปด้วยชุมชนจานวน 6 ชุมชน ดังนี้
              4.2.1.ชุมชนริมคลองสามเสน
สถานที่ตังชุมชน : ตังอยู่ริมคลองสามเสน ยาวขนานไปตามบึงมักกะสันจนถึงบริเวณสุดซอยรัชฏภัณฑ์ มีพื้นที่ประมาณ 40 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทยและเอกชน มีการสร้างบ้านเรือนบุกรุกที่ดินของการรถไฟบริเวณรอบบึงมักกะสัน
4.2.2.ชุมชนจำรุรัตน์
สถานที่ตังชุมชน : ตังอยู่ที่ถนนเพชรบุรีตดใหม่ มีพื้นที่ประมาณ 22 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของมูลนิธิเทียนฟ้า

            4.2.3.ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน
สถานที่ตั้ง ชุม ชน : ตังอยู่บริเวณใต้ทางด่วนริมทางรถไฟสายแปดริ้วหน้าโรงงานมัก กะสัน มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการปลูกบ้านเรือนกันทังสองฟากของทางรถไฟ ต่อมามีการสร้างทางด่วนขนานไปกับพื้นที่ข้างทางรถไฟ บางส่วนของชุมชนจึงย้ายไปอยู่ติดกับชุมชนจารุรัตน์เป็นชุมชนที่ตงบ้านเรือนมานานกว่า 20 ปี

          4.2.4.ชุมชนหลังวัดมักกะสัน
สถานที่ตังชุมชน : ตังอยู่บริเวณหลังวัดมักกะสัน ถนนเพชรบุรี มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่เศษ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย มีการตังชุมชนโดยบุกรุกที่ดินของการรถไฟเมื่อประมาณ 20 ปี มาแล้ว

         4.2.5.ชุมชนนิคมมักกะสัน
สถนที่ตังชุมชน : ตังอยู่หลังบ้านพักพนักงานการรถไฟมักกะสัน ติดคลองแสนแสบ ถนนเพชรบุรี มีพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ เศษ กรรมสิทธิ์ ที่ดิน เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย เดิมพื้น ที่ บริเวณนี้เคยเป็นแดนประหารนักโทษ เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบแล้วได้ ใช้เป็นที่พกซุงและเรือเอี้ยมจุ๊น ต่อมาการรถไฟได้เวนคืนที่ดินบริเวณนี้เพื่อใช้ ในกิจการรถไฟ เริ่มมีการบุกรุกเข้ามาตั้งบ้านเรือนหนาแน่นเมือประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันยังพบท่อนซุงจมอยู่ใต้ ถุนบ้านบางหลัง

          4.2.6.ชุมชนโรงเจมักกะสัน
สถานที่ตังชุมชน : ตังอยู่ติดคลองแสนแสบ ใกล้ บ้านพักพนักงานการรถไฟมักกะสัน ถนนเพชรบุรี มีพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ กรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของเอกชน และการรถไฟแห่งประเทศไทย การก่อตังชุมชนเดิมเป็นพื้นที่เดียวกับชุมชน
นิคมมักกะสัน ต่อมาเมื่อตัดถนนซอยนานาเหนือ จึงแยกเป็น 2 ชุมชน ปัจจุบันมีหลักฐานคือ                                                         ซากเรือเอี้ยมจุ๊นจอดอยู่ข้างชุมชน

4.3. ประชากร /ที่ตังชุมชนแขวงมักกะสัน   มีจำนวนครัวเรือน 1,694 ครัวเรือน มีประชากรดังนี้

ที่
ชื่อชุมชน
ที่ตั้งชุมชน
พื้นที่
จำนวนประชากร
อาชีพ
1
ชุมชนจารุรัตน์

ซอยเพชรบุรี 38 ตรงข้ามอาคาร
วานิช ถนนเพชรบุรี
17 ไร่
3,500 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
2
ชุมชนหลังวัดมักกะสัน

ด้านหลังวัดดิสหงษาราม ถนน
เพชรบุรี
2 ไร่
348 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
3
ชุมชนริมทางรถไฟมักกะสัน

ด้านหลังโรงแรมบางกอกพาเลซ
18 ไร่
1,317 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
4
ชุมชนโรงเจมักกะสัน

ติดคลองแสนแสบใกล้ แยกมิตร
สัมพันธ์
2 ไร่
380 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
5
ชุมชนนิคมมักกะสัน

ติดคลองแสนแสบข้างบ้านพัก
รถไฟ
3 ไร่
264 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
6
ชุมชนริมคลองสามเสน
ริมคลองสามเสน แยก
ประชาสงเคราะห์
40 ไร่
2,380 คน
รับจ้าง,ค้าคาย
รวม
82 ไร่
8,189 คน



4.4 สภาพทางสังคม
        4.4.1  สถานศึกษา จานวน 6 แห่ง คือ
                - โรงเรียนวัดทัศนารุณสุนทริการาม
                - โรงเรียนโกวิทธำรง
                - โรงเรียนวัฒนศิลปวิทยาลัย
                - โรงเรียนดอนบอสโก
                - โรงเรียนวัดดิสหงษาราม
                - โรงเรียนมักกะสันพิทยาคม

          4.4.3  สถานที่ทางาศาสนา จานวน 3 แห่ง
                - วัดทัศนารุณสุนทริการาม (วัดตะพาน)
                - วัดดิสหงษาราม (วัดมักกะสัน)
               - มัสยิดเนี๊ยะมาตู้ลอิสลาม

          4.4.5 สถานพยาบาล จำนวน 2 แห่ง
              - ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 (ราชปรารภ)

              - โรงพยาบาลบปุระฉัตรไชยากร(รถไฟ)


           4.4.7  หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ จานวน 3 แห่ง คือ
                  - ที่ทาการคลังพัสดุ
                  - การนิคมอุสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                 - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

4.5 สภาพเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
ลักษณะสังคม เป็นสังคมเมือง ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและธุรกิจ

5. ข้อมูล  กศน.ตำบลบางโพธิ์เหนือ
ที่ตั้ง :  ตั้งอยู่อาคารเลขที่  : วัดดิสหงษาราม เลขที่ 39 ถนนเพชรบุรีตดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร

                                                                                                                                                                                                                            ขนาดกศน.ตำบล  จำนวนผู้เรียน/นักศึกษา  ระดับการศึกษาที่ให้บริการ
กศน.แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร จัดการศึกษาให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กศน.แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร  มีนักศึกษาชาย และหญิง รวมทั้งสิ้นจำนวน  121 คน


ข้อมูลจำนวนนักศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ไม่รู้หนังสือ
ตารางที่ 1  แสดงข้อมูลจำนวนนักเรียน ภาคเรียนที่ 1/2557
ระดับชั้น
ชาย
หญิง
รวม
ผู้ไม่รู้หนังสือ
-
1
1
ประถมศึกษา
1
-
1
มัธยมศึกษาตอนต้น
28
37
         65
มัธยมศึกษาตอนปลาย
25
29
54
รวมทั้งสิ้น
54
67
121
       
      5.1  การศึกษานอกระบบโรงเรียน
                 1.   มี  ศรช.วัดดิสหงษาราม   จำนวน   1  แห่ง
                 2.   มี  แหล่งเรียนรู้  แห่ง
                    -  บุคคล(ปราชญ์ชาวบ้าน)  2 คน 
                   -  พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านแรงงานไทย    จำนวน  1   แห่ง  
                   -  อื่นๆ  ระบุตึกใบหยกสกาย         จำนวน   1  แห่ง
                 3.   การส่งเสริมการอ่านหนังสือ
                   -  ผู้อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้มี     1    คน
                   -  อ่านออกเขียนได้แต่ยังไม่คล่องแคล่วดีพอ  มี  2  คน
                   -  ที่อ่านหนังสือในชุมชนบ้านหนังสืออัฉริยะ  มีจำนวน  4   แห่ง
                   -  มีสื่อเพื่ออ่าน  ได้แก่
                             -  หนังสือขวัญเรือนและคู่สร้างคู่สม    จำนวน   24  เล่ม/เดือน
                             -   หนังสือพิมพ์                            จำนวน 120 ฉบับ/เดือน
                   -  มีอาสาสมัครส่งเสริมการอ่าน    จำนวน  2 คน
                4.  การพัฒนาอาชีพ  มีการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอาชีพอะไรบ้าง ระบุ
                      - การทำดอกไม้จัน เพื่อการมีงานทำ
               5.  การพัฒนาทักษะชีวิต  จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต 10 ทักษะ  แต่ละทักษะ
มีจำนวนเฉลี่ยปีละ100 คน
                   1.)  ทักษะการตัดสินใจ
                   2.)  ทักษะการแก้ปัญหา
                   3.)  ทักษะการคิดสร้างสรรค์
                   4.)  ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาน
                   5.)  ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ 
                    6.)  ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
                   7.)  ทักษะการตระหนักรู้ในงาน

                   8.)  ทักษะการเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น
                   9.)  ทักษะการจัดการกับอารมณ์
                   10.) ทักษะการจัดการกับความเครียด
6.  คณะกรรมการสถานศึกษา กศน.แขวงมักกะสัน/บุคลากร
ประธานชุมชน / กรรมการหมู่บ้านหรือชุมชน
 1.  นางจันทร์กานต์    สาสุภา             กรรมการชุมชนริมคลองสาวเสน
 2.  นายอเนก   ศรีฏาบรรฑิต              ประธานชุมชนนิคมมักกะสัน
 3.  นางสุมิตรา   วุฒิทรี                   ประธานชุมชนริมทางรถไฟสายแปดริ้ว
 4.  นาสาวอินทุอร       อินทร์เลศ                  กรรมการชุมชนโรงเจมักกะสัน
 5.  นางสาวปิยะทิพย์   กลางสวัสดิ์        ประธานชุมชนหลังวัดมักกะสัน
 6.  นายชำเนียร     ชำนาญนาค           ประธานชุมชนจารุรัตน์
คณะกรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรนักศึกษา
 1.    นาย...........................................จากการเลือกตั้ง
 2.    นายศักดิ์สิทธ์          นนท์เลิศ         องค์กรนักศึกษา กศน.ตำบล
บุคลากร ครู/ผู้ดูแล
        
1.นายสหรัถ          อาสา             นักงานราชการ ครู กศน.ตำบล